“ศักดิ์สยาม” สั่งการบ้าน 8 ข้อเร่งพัฒนาระบบขนส่งข้ามโขงเชื่อม “ลาว-จีน”
กรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานกำหนดนโยบายด้านการคมนาคม เพื่อสนับสนุนการบูรณาการการเชื่อมโยงระหว่างไทย ลาว และจีน โดยที่ประชุมมีมติเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อรองรับการขนส่งข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่างไทย-ลาว-จีน ด้วยรถไฟขนาดทาง 1 เมตร ให้สามารถเชื่อมโยงทั้งภายใน และภายนอกที่จะช่วยขยายความครอบคลุมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจออกไปให้ได้ประโยชน์ในทุกมิติ
นายศักดิ์สยาม ได้มอบหมายให้ดำเนินการดังนี้ 1. มอบหมายการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรัดการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ก่อนพิจารณาหารือร่วมกับฝ่าย สปป.ลาว เพื่อพิจารณาการกำหนดจุดตรวจร่วม (Common Control Area : CCA) การปรับปรุงความตกลงเดินรถไฟร่วม เช่น การพิจารณาเพิ่มสถานีระหว่างประเทศ (International Station) รวมถึงพิจารณาจัดประชุมคณะทำงานร่วมไตรภาคีด้านรถไฟระหว่างไทย-ลาว-จีน ทั้งในระดับคณะทำงานด้านเทคนิค และธุรกิจ และการประชุมไตรภาคี เพื่อหารือแนวทางการเชื่อมโยงรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน (ระดับอธิบดี) โดยเร็วต่อไป
2. มอบหมายกรมทางหลวง (ทล.) เร่งรัดการศึกษาแนวทางการก่อสร้างสะพานแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ก่อนนำผลการศึกษาหารือร่วมกับฝ่าย สปป.ลาว โดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ให้ ทลคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. พิจารณานำประเด็นการเปิดใช้สะพานมิตรภาพแห่งเดิมหลังจากเวลา 22.00 น. หารือในการประชุมคณะกรรมาธิการบริหารและบำรุงรักษาสะพานมิตรภาพ (หนองคาย-เวียงจันทน์) ครั้งต่อไป 3. มอบหมายกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) พิจารณาปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างไทย-ลาวตามที่ฝ่าย สปป.ลาว เสนอ โดยให้คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน และประเทศเป็นสำคัญ
4คำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต. มอบหมายสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), รฟท., ทล., กรมทางหลวงชนบท (ทช.), ขบ., สถาบันการบินพลเรือน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมข้อมูลการฝึกอบรมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งเรื่องถนน ทางราง โลจิสติกส์ และการบินพลเรือน ตามข้อร้องขอของฝ่ายลาวต่อไป 5. มอบหมาย รฟท. เร่งรัดแก้ไขปัญหาการดำเนินการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยาโดยเร็วต่อไป 6. มอบหมายให้พิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างไทย ลาว จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ เพื่อหารือแนวทางการในบูรณาการการขนส่งร่วมกันในอนาคต ที่จะนำมาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ต่อไป
7. มอบหมายให้ รฟท. เร่งรัดการแก้ไขแบบก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ บริเวณสี่แยกบ้านจั่น อ.เมืองอุดรธานี โดยเร็ว เพื่อบรรเทาข้อกังวลของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคมเร่งรัด และติดตามการดำเนินการอย่างใกล้ชิดต่อไป 8. มอบหมายให้ รฟท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การดำเนินการสนับสนุนการบูรณาการการเชื่อมโยงระหว่างไทย ลาว และจีน ให้ชัดเจนโดยเร็ว เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
ทั้งนี้ ในประเด็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย รัฐบาลได้อนุมัติให้กระทรวงคมนาคม โดย รฟท. ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มาตั้งแต่ปี 60 โดยประเทศไทยจะเป็นผู้ลงทุนโครงการ 100% ฝ่ายไทยจะเป็นผู้ก่อสร้าง งานโยธา และฝ่ายจีน ออกแบบ ควบคุมงาน และติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล
เมื่อเปรียบเทียบโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และโครงการรถไฟลาว-จีน จะพบว่า รถไฟลาว-จีน เป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างฝ่ายลาวกับจีน โดยฝ่ายลาวลงทุน 30% ฝ่ายจีนลงทุน 70% โดยเป็นการออกแบบพร้อมก่อสร้าง (Design Build) ใช้รางขนาด 1.435 เมตร เป็นทางเดี่ยว ใช้รถไฟ EMU รุ่น CR 200 ด้วยความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) ขณะที่รถไฟไทย-จีน เป็นรถไฟความเร็วสูงที่มีการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่แตกต่างจากรถไฟลาว-จีน โดยก่อสร้างเป็นทางคู่ตลอดเส้นทาง ใช้รถรุ่น CR300 สามารถรองรับความเร็วสูงสุด 250 กม.ต่อ ชม. ฝ่ายไทยเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมด 179,412.21 ล้านบาท ระยะทาง 253 กม. ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ เช่น มีอิสระในการกำหนดแผนในการเดินรถ (Operation) ไม่เสียสิทธิ์การใช้พื้นที่ข้างทาง
สามารถกำหนดให้พนักงานขับรถไฟ และพนักงานในศูนย์ซ่อมบำรุงทั้งหมดเป็นชาวไทยได้ตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการเดินรถ ซึ่งถือเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่มุ่งมั่นจะดำเนินโครงการที่ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านระบบรางในระยะยาวที่ยั่งยืน และเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่จะสนับสนุนการขยายตัวของเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทางที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน การท่องเที่ยวและนำมาสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อไป.