แบงก์สหรัฐฯวุ่น คนแห่ถอนเงิน เฟด อัดฉีดงบดุลสู้ คาดหนุนตลาดหุ้นฟื้น
ปัญหาธนาคารล้มละลายในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ยังคงสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนและผู้ฝากเงินอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ยอดเงินฝากในธนาคารทั่วสหรัฐฯ ปรับลดลงกว่า 98,400 ล้านดอลลาร์ หรือ 3.3 ล้านล้านบาท หนักสุดในรอบ 1 ปี เหลืออยู่ที่ 17.5 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 599 ล้านล้านบาท
ส่วนใหญ่เป็นเงินของฝากของธนาคารขนาดเล็กที่ลดลง 120,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 4.1 ล้านล้านบาท ซึ่งสวนทางกลับธนาคารขนาดใหญ่ 25 แห่ง ที่มีเงินฝากเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด (Fed) ได้เข้ามาแก้ปัญหาด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่งบดุล (Balance Sheet) กว่า 390,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 13.3 ล้านล้านบาท ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
บล.เอเซียพลัส ระบุว่า จากสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น จะเป็นหนึ่งในปัจจัยช่วยพยุงดัชนีหุ้น เนื่องจากในอดีต การใช้มาตรอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบผ่านการซื้อตราสารทางการเงิน (QE) จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจให้ฟื้นในระยะถัดไป และในช่วงโควิด-19 มีการเพิ่ม QE เข้าระบบกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ ช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวได้เร็ว
ทั้งนี้เช่นเดียวกับวิกฤตซัพไพร์มในปี 2009-2012 หลังมีการใช้ QE1, QE2 และ QE3 ส่งผลให้หุ้นไทยฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ใน ดัชนี SET50 ปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าหุ้นขนาดเล็ก ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเกิดจากสภาพคล่องจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นที่เข้ามาช่วยพนุงดัชนี
ซึ่งสอดคล้องกับปัจจุบันที่เริ่มเห็นต่างชาติ (Fund Flow) ขายหุ้นไทยสุทธิน้อยลง และมีการสลับซื้อในบางวัน หลัง เฟด มีการเพิ่มสภาพคล่อง ขณะที่หุ้นใหญ่ SET50 หลังปรับตัวลดลงไปก็ฟื้นตัวขึ้นมาได้เร็ว จากลดลง -7% ในเดือน มี.ค. (MTD) จนเหลือ -1.37% MTD ส่วนหุ้นขนาดเล็ก MAI ยังคงฟื้นช้า -5.2% MTD
อย่างไรก็ตาม บล.เอเซียพลัส มองว่า ปัจจัยภายนอกยังไม่แน่นอน แต่มีสภาพคล่องคอยพยุงสินทรัพย์เสี่ยง กลยุทธ์เน้นเลือกหุ้นใหญ่มากกว่าหุ้นเล็ก คาดดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) อยู่ในกรอบ 1,582 – 1,600 จุดคำพูดจาก นสล็อตออนไลน์