Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • ยิ่งปลูกยิ่งดี #หญ้าทะเลช่วยโลก

ยิ่งปลูกยิ่งดี #หญ้าทะเลช่วยโลก

Blue Carbon ประกอบไปด้วย ป่าชายเลน ที่ราบน้ำท่วมถึง และแหล่งหญ้าทะเล ทำหน้าที่กักเก็บ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในรูปแบบชีวมวล และการทับถมของตะกอนดินลงสู่ชั้นดิน แหล่งหญ้าทะเล สามารถพบในน่านน้ำไทย รวม 13 ชนิด จาก 60 ชนิดที่พบได้ในทะเลทั่วโลก เป็นระบบนิเวศที่ดูดซับคาร์บอนออกไซด์ได้ดีที่สุด เพราะถึงจะมีพื้นที่น้อยกว่า 0.2 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด แต่สามารถกักเก็บคาร์บอนไว้ได้ถึงปีละ 10 เปอร์เซ็นต์ ถือว่ามีประสิทธิภาพกว่าระบบนิเวศป่าบกหลายเท่าตัว

หญ้าทะเลยังมีความสำคัญในการเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน แหล่งอาหารของพะยูนและเต่าทะเล นอกจากนี้ ยังช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำ ช่วยดักตะกอน ลดความเร็วของกระแสน้ำและคลื่นป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และยังเกื้อกูลวิถีชีวิตชาวประมง แต่ในขณะเดียวกัน แหล่งหญ้าทะเลก็ถูกคุกคามจาก การเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิ สภาพอากาศ สภาพแวดล้อม กิจกรรมต่างๆ ใกล้ชายฝั่งทะเล เช่น การตั้งบ้านเรือน หรือ ชุมชน การพัฒนาด้านเกษตรกรรมต่างๆ ทั้งการเพาะปลูก การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รายงานสถานการณ์หญ้าทะเลใน 17 จังหวัดชายฝั่งทะเลใน พ.ศ. 2564 พบว่า มีพื้นที่รวม 99,325 ไร่ ลดน้อยลงจากปีก่อน และมีที่สภาพสมบูรณ์ดีจริงๆ รวมกันไม่ถึง 20 %คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ด้านสหประชาชาติได้กำหนดให้ทศวรรษนี้เป็นทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ หญ้าทะเลเป็นหนึ่งในพืชที่ถูกพูดถึงในฐานะเครื่องมือของการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นี่คือเหตุผลสำคัญสำหรับองค์กรใหญ่ที่ทำเรื่องการปลูกป่าบกมายาวนาน เริ่มให้ความสำคัญกับการปลูกหญ้าทะเล มีการศึกษาเกี่ยวกับหญ้าทะเลเพื่อรณรงค์ปลูกอย่างจริงจัง พร้อมๆ ไปกับการลงมือทำในด้านอื่นๆ ทั้งการแยกขยะ การลดขยะ สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC มีเป้าหมายเป็นองค์กร Net Zero ในปี ค.ศ 2050 พนักงานในองค์กรมีส่วนร่วมในการคิดริเริ่มโครงการที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของหญ้าทะเล จึงเดินหน้าขับเคลื่อนในรูปแบบจิตอาสาร่วมกับชุมชนท้องถิ่น จนเป็นที่มาของกิจกรรมปลูกหญ้าทะเลฟื้นฟูระบบนิเวศ Blue Carbon Project ที่ชายหาดทุ่งคา ต.เนินฆ้อ อ.แกลง จ.ระยอง มีนายมณฑล โพธิ์ประเสริฐ นายกเทศมนตรีตำบลเนินฆ้อ นายสุเทพ เจือละออง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก และนายรัชดา สวัสดิรักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและสาธารณูปการ ของ GC พร้อมกับจิตอาสาจาก GC และเครือข่ายทั้งนักเรียนและชุมชน รวมกว่า 120 คน มาช่วยกันปลูกหญ้ากุยช่ายทะเล และหญ้ากุยช่ายเข็ม จำนวน 600 ต้น เพื่อลดโลกร้อน และจะมีการพัฒนาโครงการในระดับต่อๆไป เพื่อฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล สร้างความสมบูรณ์ให้ระบบนิเวศใต้ท้องทะเลโดยรอบคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก ๆ ภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหา การปลูกหญ้าทะเล Blue Carbon Project นับเป็นอีกหนึ่งโครงการ ที่สามารถช่วยกันแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างดี

รู้อย่างนี้แล้ว อย่ารอช้า…ยิ่งปลูก ก็ยิ่งดี
#Bluecarbonproject #ยิ่งปลูกยิ่งดี #TogetherToNetZero