Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • “นักเรียนเลว” ตั้งคำถามปม “หยก” มอบตัวไม่สมบูรณ์เพียงเพราะไม่มีพ่อ-แม่

“นักเรียนเลว” ตั้งคำถามปม “หยก” มอบตัวไม่สมบูรณ์เพียงเพราะไม่มีพ่อ-แม่

เพจ“นักเรียนเลว” โพสต์ว่า "หยก" มอบตัวไม่สมบูรณ์เพียงเพราะไม่มีพ่อแม่มามอบตัวจริงหรือ? แล้วใครจะสามารถเป็นผู้ปกครองของนักเรียนในกระบวนการมอบตัวได้บ้าง

คำถามที่ทุกคนจับตามองหลังจากการแถลงของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ถึงกรณีของหยก นักกิจกรรมวัย 15 ปี ที่ถูกระบุว่าไม่ได้เป็นนักเรียนของโรงเรียนตั้งแต่แรก เพราะไม่มีผู้ปกครองที่เป็นพ่อหรือแม่มามอบตัวกับทางโรงเรียนนั้น ทำให้ต้องตั้งคำถามถึงกระบวนการมอบตัวว่าผู้ปกครองจำเป็นต้องเป็นพ่อแม่ที่แท้จริงของนักเรียนหรือไม่

“หยก” เยาวชนวัย 15 ปี ปีนรั้วโรงเรียนดังรอบ 2 ถามเหตุสิ้นสภาพนักเรียน

"อดีตครูฝ่ายปกครอง"ชี้ อ้างเสรีภาพได้แต่ต้องเคารพกฎ

"น้องหยก"โพสต์ถูกไล่ออกจากโรงเรียนดังแล้ว โซเชียลเสียงแตก!

จากการสืบค้นข้อมูล พบกฎหมายและประกาศ 2-3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการนิยามความหมายของผู้ปกครอง และผู้ปกครองในกระบวนการมอบตัวของนักเรียน โดยกฎหมายที่ลำดับศักดิ์ใหญ่สุดที่เกี่ยวข้อง คือ พรบ. คุ้มครองเด็ก ได้นิยามความหมายของคำว่า "ผู้ปกครอง" ไว้ว่า

"ผู้ปกครอง" หมายความว่า บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพ นายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดู หรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่

เมื่อดูจากนิยามผู้ปกครองของ พรบ. คุ้มครองเด็กแล้ว ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อแม่แท้ ๆ ของเด็ก ยังสามารถเป็นผู้ที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กหรือผู้ที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยก็ได้ ทำให้การที่โรงเรียนอ้างว่ากระบวนการมอบตัวจำเป็นต้องใช้ผู้ปกครองที่เป็นพ่อและแม่แท้ ๆ นั้น อาจเป็นการกีดกันสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาของเด็ก และเพื่อเป็นการยืนยันให้ชัดเจนว่าผู้ปกครองในกระบวนการมอบตัวของนักเรียนมีนิยามไว้อย่างไร ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องผู้ปกครองนักเรียนนักศึกษา พ.ศ. 2522 ได้ให้นิยามไว้ว่า

"ผู้ปกครอง" หมายความว่า บุคคลซึ่งรับนักเรียนหรือนักศึกษาไว้ในความปกครอง หรืออุปการะเลี้ยงดู หรือบุคคลที่นักเรียนนักศึกษานั้นอาศัยอยู่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ซึ่งในประกาศฉบับนี้ เป็นการนิยามถึงผู้ปกครองในกระบวนการมอบตัวนักเรียนโดยตรง มีการระบุให้ผู้ปกครองมามอบตัวนักเรียนพร้อมส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามที่สถานศึกษากำหนด นอกจากนี้ ยังมี พรบ. การศึกษาภาคบังคับ ที่ก็ได้ให้คำนิยามของผู้ปกครองไว้ในลักษณะที่เป็นไปในทางเดียวกัน คือผู้ปกครองสามารถเป็นผู้ที่อุปการะเลี้ยงดูหรือผู้ที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยก็ได้

ตามหลักการจัดการศึกษาแล้ว ผู้จัดการศึกษาควรต้องคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของเด็กเป็นอันดับแรกตามหลัก "the best interests of the child" เมื่อนักเรียนไม่มีผู้ปกครองที่เป็นพ่อหรือแม่แท้ ๆ ของตนมาเข้ากระบวนการมอบตัว ไม่ควรเป็นสาเหตุให้นักเรียนคนนั้นหมดสิทธิเข้ารับการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อกฎหมายได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อและแม่แท้ ๆ ของเด็ก

จากกระบวนการมอบตัวของ "หยก" ที่ว่าที่ ส.ส. วีรภัทร คันธะ จากพรรคก้าวไกล ได้เข้าไปเป็นผู้สังเกตการณ์ และระบุไว้ว่าหยกมีผู้ปกครองเป็นบุคคลที่หยกไว้วางใจ และอาศัยอยู่ด้วยกันในการทำเรื่องมอบตัว รวมทั้งโรงเรียนก็ยืนยันการรับมอบตัวหยกเสร็จสิ้นแล้ว ก็ต้องตั้งคำถามกลับไปยังโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการแล้วว่า สาเหตุที่แท้จริงในการไม่รับหยกเข้าเรียนนั้นคืออะไรกันแน่ เพราะการไม่มีพ่อหรือแม่มามอบตัวไม่น่าใช่เหตุผลที่ฟังขึ้นสำหรับกรณีนี้

อย่างไรก็ตาม วันนี้ “หยก” ได้พยายามเข้าโรงเรียนอีกครั้ง โดยมีการแต่งกายด้วยชุดไปรเวต พยายามเข้าไปในโรงเรียนเพื่อไปเรียนหนังสือ เมื่อไปถึงหน้าโรงเรียนพบว่ารั้วโรงเรียนยังปิดเช่นเดิม จึงพยายามปีนรั้วเข้าไปภายใน แต่อาจารย์ขู่จะแจ้งความข้อหาบุกรุกและขวางประตูไว้ หยกจึงตัดสินใจกระโดดเข้าทางหน้าต่าง จนท้ายที่สุดสามารถเข้าเรียนได้สำเร็จ

 “นักเรียนเลว” ตั้งคำถามปม “หยก” มอบตัวไม่สมบูรณ์เพียงเพราะไม่มีพ่อ-แม่